Last updated: 18 มี.ค. 2564 | 32263 จำนวนผู้เข้าชม |
การขออนุญาตติดตั้ง ระบบโซล่าร์รูฟท็อป
แบ่งการขออนุญาตออกเป็น 2 แบบคือ
แบบที่หนึ่ง การขออนุญาตเพื่อขอขายไฟคืน ตามโครงการไฟฟ้าภาคประชาชน (ต้องติดตั้งขนาดที่มีกำลังการผลิตไม่เกิน10 กิโลวัตต์)และต้องเป็นบ้านพักอาศัยเท่านั้น (ประเภท1)
แบบที่สอง การขอขนานไฟเพื่อติดตั้งSolar roof top เสรี โดยติดตั้งที่มีกำลังการผลิต
ได้ทุกขนาดไม่จำกัด
หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง
ทั้ง การขายไฟคืน หรือ การติดตั้งเพื่อใช้ภายในบ้านหรือสำนักงาน จะต้องติดต่อกับหน่วยงานของรัฐทั้ง 3 หน่วยงานข้างล่างนี้
1. กกพ.(สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน) เพื่อแจ้งขอเป็นผู้ประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นและขอรับใบอนุญาตทำการผลิตพลังงานควบคุม
2. องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น หรือ สำนักงานเขต ที่อาคารที่จะติดตั้งโซล่าร์รูฟท็อป ตั้งอยู่เพื่อขอรับใบอนุญาตก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคาร (อ.1)
3.กฟน.(การไฟฟ้านครหลวง) หรือกฟภ.(การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค) ในเขตพื้นที่เพื่อให้ตรวจสอบอุปกรณ์ที่ใช้ติดตั้งและเปลี่ยนระบบมิเตอร์ใหม่
ขั้นตอนการยื่น ขอติดตั้งโซล่าร์รูฟท็อป
ขั้นตอนแรก ยื่นเอกสารต่อ กกพ. เพื่อแสดงความจำนงในการติดตั้งโซล่าร์รูฟท็อป หลังจากนั้น จะได้ใบอนุญาต ให้เราสามารถทำการผลิตพลังงานควบคุมได้
ขั้นตอนที่สอง เนื่องจาก แผงโซล่าร์เซลล์มีน้ำหนักถึง 22 กิโลกรัม การเอาแผงจำนวนหลายๆแผงไปวางบนหลังคา จะต้องมีการตรวจสอบโครงสร้างหลังคาว่ารับน้ำหนักได้หรือไม่ ผู้ติดตั้งจึงต้องยื่นแบบ ขอต่อเติมอาคาร กับ สำนักงานเขต หรือ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น แล้วก็จะได้ใบอนุญาตมา 1 ใบ
ขั้นตอนสุดท้าย นำเอกสารทั้ง 2 ส่วน มายื่นต่อ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) หรือ การไฟฟ้าฯส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ซึ่ง การไฟฟ้าจะนำ มิเตอร์ไฟฟ้ามาเปลี่ยนให้ใหม่ โดยป้องกันไฟฟ้าย้อนกลับ และ ถ้าจะขายไฟฟ้าคืน มิเตอร์ก็จะเป็นอีกประเภทหนึ่งที่สามารถปล่อยไฟฟ้ากลับคืนสายส่งของภาครัฐได้
7 มี.ค. 2563
29 ก.พ. 2563
7 มี.ค. 2563
7 มี.ค. 2563