Last updated: 22 ต.ค. 2566 | 15184 จำนวนผู้เข้าชม |
เนื่องจากระบบโซล่าร์รูฟท็อปมีราคาค่อนข้างสูงและมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า 25ปี ...การเลือกขนาดของระบบโซล่าร์รูฟท็อปให้เหมาะสมกับบ้าน หรือ อาคารที่จะติดตั้งนั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก ดังนั้นสิ่งที่ต้องพิจารณาคือ เราต้องลงทุนอย่างคุ้มค่าหรือได้ประโยชน์สูงสุดจากการลงทุน หรือแปลง่ายๆว่าเราต้องใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆที่มีอยู่ให้สอดคล้องกับกำลังการผลิตไฟฟ้าของระบบโซล่าร์รูฟท็อปที่ผลิตได้ในชั่วโมงนั้นๆ นั่นเอง
ดังนั้นการจะเลือกขนาดของระบบโซล่าร์รูฟท็อปจึงต้องพิจารณาอย่างรอบครอบ โดยต้องอาศัยข้อมูลย้อนหลังเกี่ยวกับปริมาณการใช้ไฟฟ้าจริง (บิลค่าไฟฟ้า) หรือ แผนการใช้ไฟฟ้าในอนาคตที่อาจจะมีเพิ่มเติม
วิธีประเมินว่า ใช้ไฟเท่าไหร่ในแต่ละวัน โดยเฉพาะเวลากลางวัน
เบื้องต้นในการเลือกขนาดของระบบสามารถทำได้ด้วยตัวเอง โดยต้องคำนึงถึงปัจจัย 2 ประการได้แก่ปริมาณการใช้ไฟฟ้าในตอนกลางวันและขนาดของพื้นที่ติดตั้งแผ่งโซล่าร์เซลล์ การคำนวณหาขนาดของระบบสามารถทำได้ 3 วิธี ดังนี้
1. ประเมินจากบิลค่าไฟที่ใช้
วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่าย และ รวดเร็วที่สุดในการคำนวณสามารถทำได้ทันที โดย อย่างแรกเราดูพฤติกรรมการใช้ไฟแล้วประมาณการว่าการใช้ไฟฟ้าในตอนกลางวัน (08:00-17:00น.) และ กลางคืน (17:00-08:00น.) คิดเป็นอัตราส่วนเท่าไหร่?
ตัวอย่าง เช่นในหนึ่งเดือนมีบิลค่าไฟฟ้า 5,000 บาท เราประเมินการใช้ไฟฟ้าในตอนกลางวันเป็น 70% กลางคืน 30% ของค่าไฟทั้งหมด เพราะฉะนั้น อัตราการใช้ไฟฟ้าตอนกลางวันต่อเดือนจะอยู่ที่ 3,500 บาท, ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.5 บาทต่อหน่วย ดังนั้นในช่วงกลางวันเราใช้ไฟเท่ากับ 3,500 บาท/4.5 บาท จะเท่ากับ 777 หน่วย จากนั้นเราหาหน่วยต่อชั่วโมงโดยเอา 777 หน่วย/30วัน/9ชั่วโมง เท่ากับ 2.8 หน่วยต่อชั่วโมง จากการคำนวณนี้
จะเห็นว่าภายในสามวันเราเก็บตัวเลขจากมิเตอร์ไฟฟ้าที่เราใช้ไฟฟ้าจริงๆรวมทั้งหมด 90หน่วย หรือถ้าคิดเป็นการใช้ไฟต่อชั่วโมงคือ 90หน่วย/3วัน/9ชั่วโมง= 2.5หน่วยต่อชั่วโมง ดังนั้นขนาดระบบที่เหมาะสมที่สุดคือ Eve Solar rooftop on ขนาด 3 กิโลวัตต์ เพราะผลิตไฟฟ้าได้สูงสุด 3หน่วยต่อชั่วโมงซึ่งสอดคล้องกับการใช้ไฟฟ้าจริงที่ 2.5 หน่วยต่อชั่วโมง
3. ดูอัตราการกินไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เปิดใช้ในตอนกลางวัน
วิธีนี้คือการหาโดยกำลังไฟฟ้า (วัตต์) ของอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิดที่เราเปิดใช้งานในตอนกลางวัน (08:00-17:00น)
ตัวอย่างเช่น บ้านพักอาศัย 1หลัง ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าในตอนกลางวันดังนี้
1. แอร์ขนาด 12000บีทียู จำนวน 1เครื่อง จะกินไฟประมาณ 800-1,000วัตต์
2. แอร์ขนาด 18000บีทียู จำนวน 1เครื่อง จะกินไฟประมาณ 1,300-1,700วัตต์
3. ทีวี LED 40นิ้ว จำนวน 1เครื่อง จะกินไฟประมาณ 70-90วัตต์
4. พัดลม 16นิ้ว 1ตัว จะกินไฟประมาณ 45-65วัตต์
5. ตู้เย็น 14คิว 1เครือง กินไฟประมาณ 200วัตต์
6.หลอดไฟ9w 8ดวง กินไฟประมาณ 72วัตต์
เมื่อเราได้กำลังไฟฟ้ารวมของทุกอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เปิดใช้ในตอนกลางวันแล้วคือ 2,927วัตต์ นั่นหมายความว่าในทุกๆชั่วโมงเราจะใช้กำลังไฟฟ้าที่ 2,927วัตต์ ดังนั้นขนาดระบบที่เหมาะสมที่สุดคือ Eve Solar rooftop on ขนาด 3 กิโลวัตต์ เพราะผลิตไฟฟ้าได้สูงสุด 3 หน่วยต่อชั่วโมงซึ่งสอดคล้องกับการใช้ไฟฟ้าจริงที่ 2.927หน่วยต่อชั่วโมง
ตรวจสอบพื้นที่บนหลังคา
เมื่อเราได้ขนาดของระบบโซล่าร์รูฟท็อปที่จะติดตั้งแล้ว ปัจจัยที่ต้องพิจารณาอีกอย่างหนึ่งก็คือพื้นที่ๆจะติดตั้งแผงโซล่าร์เซลล์ แผงโซลาร์เซลล์ ของอีฟ มีขนาดที่ 2 ตารางเมตร คือด้านยาว 2 เมตร และ ด้านกว้าง 1 เมตร
ตัวอย่างเช่น แผงโพลีคริสตัลไลน์ขนาด 330W (1 แผง จะใช้พื้นที่ 2 ตารางเมตร) และเราต้องการติดตั้งระบบโซล่าร์รูฟขนาด 3 กิโลวัตต์ เราต้องใช้แผงจำนวน 10 แผง เพื่อผลิตไฟฟ้ากระแสตรงป้อนให้อินเวอร์เตอร์ขนาด 3 กิโลวัตต์ นั่นหมายความว่า พื้นที่หลังคาของเราต้องมีพื้นที่สำหรับติดตั้งแผงโซล่าร์เซลล์อย่างน้อย 20 ตารางเมตร ถ้าพื้นที่บนหลังคาไม่ถึง 20 ตารางเมตร เราสามารถเลือกแผงโมโนคริสตัลไลน์ขนาด 380W (1 แผง จะใช้พื้นที่ 2 ตารางเมตร) เราจะใช้แผงจำนวน 8 แผงเท่านั้น กรณีที่ติดตั้งระบบโซล่าร์รูฟท็อปขนาดใหญ่ตั้งแต่ 30 กิโลวัตต์ขึ้นไปเราต้องเผื่อพื้นที่หลังคาเพิ่มไปประมาณ 10% สำหรับเว้นระยะแถวของแผงโซล่าร์เซลล์ไว้เป็นทางเดินสำหรับการล้างทำความสะอาดหรือการซ่อมบำรุงด้วย
ติดตั้ง ระบบ 5 กิโลวัตต์ เวลาที่แสงแดดจัด ระบบผลิตได้เต็ม 5 กิโลวัตต์หรือไม่
ถ้าพูดประเด็นนี้ ต้องพูดเพิ่ม 2 ประเด็น
ประเด็นแรก เวลาเราพูดถึง 5 กิโลวัตต์ เราจะอ้างอิงจาก อินเวอร์เตอร์ ว่าสามารถผลิตกระแสได้เท่าไหร่ กรณีนี้คือ 5 กิโลวัตต์ ถึงแม้เราจะติดแผงโซล่าร์เซลล์ขนาด 5 กิโลวัตต์ แต่เอาเข้าจริงๆ ระบบอาจผลิตได้ 80-85% เท่านั้น เพราะอะไร ก็เพราะว่า การสูญเสียนั้นเกิดขึ้นได้ทั้งจาก ระยะสายไฟ ถ้าการเดินสายไฟจากแผงโซล่าร์เซลล์ไปยังอินเวอร์เตอร์ยิ่งไกลก็จะยิ่งสูญเสียกระแสไฟฟ้า จะขอยกภาพให้เห็นง่ายๆ เรื่องโทรศัพท์มือถือ โดยโทรศัพท์มือถือที่ชาร์จจากปลั๊กที่สายไฟยาว 2 เมตร กับ 1 เมตร แบตของโทรศัพท์มือถือที่ชาร์จกับสายไฟ 1 เมตรจะเต็มก่อนโทรศัพท์มือถือที่ชาร์จกับสายไฟที่ยาว 2 เมตร เพราะสายที่มาชาร์จโทรศัพท์มือถือคือสายไฟกระแสตรง ดังนั้นสายไฟยิ่งยาวก็ยิ่งสูญเสีย อุณหภูมิแวดล้อมที่ตกบนแผงโซล่าร์เซลล์ ก็ทำให้ประสิทธิภาพตกลงไปได้ ถึงแม้ว่าแผงโซล่าร์เซลล์จะชอบแสงอาทิตย์ แต่ไม่ได้ชอบความร้อนสักเท่าไหร่ รวมถึงความสะอาดของแผง ฝุ่นที่สะสมบนกระจกของแผงโซล่าร์เซลล์ ปัจจัยเหล่านี้ล้วนแต่ทำให้การผลิตกระแสไฟฟ้าลดลง
ประเด็นที่สอง ก็คือ เราต้องการให้ระบบผลิตออกมาที่ 5 กิโลวัตต์ แทนที่จะพูดว่า ระบบขนาด 5 กิโลวัตต์ ซึ่งหมายถึง อินเวอร์เตอร์ขนาด 5 กิโลวัตต์ วิธีแก้ง่ายๆที่นิยมทำกัน คือ การเพิ่มจำนวนแผงสักเล็กน้อย เพื่อชดเชยส่วนที่หายไป อย่างเช่น ขนาด 10 กิโลวัตต์ ต้องใช้แผง 20 แผง เราอาจจะเพิ่มแผงสัก 3-4 แผง เพื่อชดเชยที่สูญเสียไป แต่ข้อควรระวังอีกอย่างคือ เราไม่สามารถใส่แผงเยอะๆตามใจได้ ถ้าอินเวอร์เตอร์ยังเป็นขนาดเดิม เพราะจะทำให้อินเวอร์เตอร์ทำงานหนัก และรับแรงดันไฟฟ้าเกินกว่าที่เครื่องอินเวอร์เตอร์จะรับได้ ทำให้เครื่องอินเวอร์เตอร์เสียในที่สุด ทั้งหมดนี้ สามารถ ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ ของ อีฟ ไลท์ติ้ง ได้ครับ
7 มี.ค. 2563
29 ก.พ. 2563
7 มี.ค. 2563
7 มี.ค. 2563